สีของรถแท็กซี่ ใน ต่างประเทศเป็นยังไง
ทุกคนน่าจะต้องเคยขึ้นรถแท็กซี่ บ้างไม่ว่าจะแท็กซี่ในประเทศไทยหรือ เวลาที่เดินทางไปต่างประเทศก็ตาม มีสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับรถ ประเภทนี้ก็คือ “สีของรถแท็กซี่”สีบนตัวถังของรถแท็กซี่ คือสิ่งที่ทำให้มันไม่เหมือนกับรถคันอื่นบนท้องถนน และถ้าเราสังเกตดีๆ จะพบว่า รถรับจ้างไม่ประจำทางในเมืองใหญ่อย่าง มหานครนิวยอร์กนั้นก็มีสีเหลืองทั้งหมด แต่พอตัดภาพกลับมาที่เมืองไทย ทำไมถึงมีมากมายหลากหลายสี เบื้องหลังและความคิดของสีที่อยู่บนรถแท็กซี่ ว่าทำไมรถประเภทนี้ต้องมีสีอย่างที่เราเห็น ทำไมรถแท็กซี่ในอเมริกา เช่น นิวยอร์กจึงต้องมีตัวรถเป็นสีเหลือง และทำไมรถแท็กซี่ในเมืองไทยถึงได้มี สีเขียว เหลือง หรือ เขียวแกมเหลือง
ก่อนที่เราจะเข้าใจคำตอบของชุดคำถามเหล่านั้น ต้องย้อนเวลากลับไปในยุคแรกๆ ที่แท็กซี่ถือกำเนิดขึ้นมาก่อน รถแท็กซี่ในนิวยอร์กถึงใช้สีเหลือง?เดิมทีรถแท็กซี่ในเมืองใหญ่อย่าง The Big Apple หรือนิวยอร์กซิตี้ เป็นรถสีดำธรรมดา บุคคลทั่วไปสามารถเรียกหรือโบกเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ด้วยเพราะมันเป็นสีดำซึ่งเป็นสีพื้นทั่วๆ ไป คนที่จะใช้บริการจึงเกิดความสับสนกับรถของสามัญชนคนธรรมดาในปี ค.ศ.1908
นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันนามว่า อัลเบิร์ต ร็อคเวลล์ (Albert Rockwell) ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับรถแท็กซี่ผุดไอเดียใหม่ หลังจากได้นั่งทบทวนว่า “เอ๊ะ ถ้ารถแท็กซี่เป็นสีดำ แล้วคนสับสน มองเห็นยาก ทำไมเราไม่เปลี่ยนเป็นสีอื่น?”เมื่อคิดได้เช่นนั้น เขาตัดสินใจเปลี่ยนสีรถแท็กซี่ในบริษัทของเขาทั้งหมด จากสีพื้นดำสนิท ให้กลายเป็นสีเหลือง สดใส มองเห็นได้แม้ตัวรถอยู่ไกล
สีรถแท็กซี่หลังจากนั้น 7 ปี ก็มีชายอีกคนหนึ่ง ชื่อว่า จอห์น เฮิตซ์ (John Hertz) ซึ่งคนนี้อาศัยในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ เขามีความคิดอยากจะทำธุรกิจเกี่ยวกับรถรับจ้างไม่ประจำทางเช่นกัน และมีความคิดเหมือนกับ อัลเบิร์ต ว่าสีของรถแท็กซี่ ต้องมีความแตกต่างจากสีของรถทั่วๆ ไป เพื่อไม่ให้ผู้โดยสารเกิดความสับสนจอห์น เฮิตซ์ จึงทำการค้นคว้าหาข้อมูล ว่าจะใช้สีอะไรดี และในที่สุดเขาก็พบกับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยชื่อดัง “University of Chicago” ในงานวิจัยมีใจความว่า หากมองด้วยตาเปล่า
ทำไม ส่วนใหญ๋ต้องมี สีเหลือง
สีเหลือง จะเป็นสีที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากระยะไกล เมื่อได้ความเช่นนี้ เขาเลยเลือกที่จะใช้สีเหลืองเป็นสีของรถรับจ้างในบริษัท ซึ่งเป็นประโยชน์กับทั้งคนขับและผู้โดยสารนั่นเอง ถัดมาในปี 1967 ทางรัฐนิวยอร์ก ได้ทำการออกข้อกำหนดกฏเกณฑ์อย่างชัดเลยว่า ต่อไปนี้รถแท็กซี่ทุกคันในเมือง ต้องใช้ตัวถังเป็นสีเหลืองเท่านั้น โดยใช้เหตุผลเดียวกับที่จอห์น เฮิตซ์ เคยใช้นั่นเอง นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยออกมาสนับสนุนอีกว่า รถยนตร์ที่มีสีเหลือง มีโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุน้อยกว่า เนื้อความของงานวิจัยบอกว่า รถแท็กซี่สีเหลือง มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุน้อยว่ารถแท็กซี่สีฟ้า 6 คัน จากจำนวน 1000 คัน ต่อหนึ่งเดือน
ทำไมรถแท็กซี่ในเมืองไทยถึงมีหลายสี
ตัดภาพกลับมาที่ประเทศไทยที่มีรถแท็กซี่หลากสี แน่นอนว่า ทุกสี ล้วนมีเหตุผลเดียวกัน คือ การมองเห็นได้อย่างชัดเจน และความแตกต่างจากรถยนตร์ทั่วไป เพราะน้อยคนคงจะใช้รถยนต ส่วนตัวสีชมพูหรือสีเขียวสีรถแท็กซี่อย่างไรก็ตาม
หากเพื่อนๆ สังเกตดูดีๆ จะพบว่า เขาแบ่งรถประเภทนี้ออกเป็น 2 กลุ่ม
1. รถแท็กซี่ที่มีสีเดียวทั้งคัน รถที่มีสีเดียวทั้งคัน หมายถึง รถที่เป็นของสหกรณ์, บริษัท หรือ ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมวิ่งกับ ‘สหกรณ์’ หรือ ‘บริษัท’ นั้นๆ อาจจะเป็นสีเขียวล้วน หรือสีฟ้าล้วนก็ได้ตามกฏหมายของการขนส่งทางบก ระบุว่า ผู้ใดที่ต้องการมีรถแท็กซี่มากกว่า 1 คัน ต้องจดทะเบียนรถรับจ้างเหล่านี้ในรูปของ ‘สหกรณ์’ หรือ ‘บริษัท’ และให้กำหนดสีประจำ ‘สหกรณ์’ หรือ ‘บริษัท’ ตนเอง พร้อมยื่นคำร้องต่อกรมการขนส่งทางบก และห้ามมีสีซ้ำกัน
2. รถแท็กซี่ที่มี 2 สี ในคันเดียว หมายความว่า รถแท็กซี่ ประเภทนี้ เป็นรถแท็กซี่ส่วนบุคคล สำหรับประชาชนคนทั่วไป ที่มีรถแท็กซี่เอาไว้ขับเป็นของตนเอง ไม่ได้อยู่ภายใต้บริษัทใด หรือองค์กรใดๆ โดยหลักการ จะเป็นแบบนี้ครับ กรมการขนทางบกกำหนดให้ใช้ สีเขียว-เหลือง และ 1 คน สามารถมีรถแท็กซี่ได้เพียง 1 คัน เท่านั้นครับ
เนื้อหาจาก : สนธยา สุตภักดิ์
เดียววันหลังจะมาเล่า แท๊กซี่ ที่ อังกฤษ และ ยุโรป